ความสำคัญของซอฟต์แวร์ต่อธุรกิจ

ความสำคัญของซอฟต์แวร์ต่อธุรกิจ เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และการทำงานแทบทุกด้าน และนั่นยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ (Software) ที่เป็นส่วนสำคัญต่อคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตรงกับวัตถุประสงค์ ดังนั้น เรามาดูกันว่า ซอฟต์แวร์มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ และมีซอฟต์แวร์ประเภทไหนบ้างที่เหมาะต่อการทำธุรกิจ

สารบัญ

ซอฟต์แวร์ คืออะไร!?

ความสำคัญของซอฟต์แวร์ต่อธุรกิจ

ซอฟต์แวร์ System software มีความสำคัญอย่างมาก ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีการออกแบบซอฟต์แวร์ system software ให้มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะการทำงานของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบของ Windows, Linux, UNIX และระบบดั้งเดิมอย่าง DOS เป็นต้น

ความสำคัญของซอฟต์แวร์ต่อธุรกิจ

ความสำคัญของซอฟต์แวร์ต่อธุรกิจ

ซอฟต์แวร์ System software เป็นองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญต่อระบบสั่งการ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ เวลาเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการจ่ายไฟให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นเครื่องจะเข้าสู่การเปิดใช้งานโปรแกรม

ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันอยู่ทั่วไป system software คือ การเขียนโปรแกรมให้ผู้ใช้เข้าสู่การใช้งานในระบบ Windows เพื่อนำไปสู่การใช้ Application โปรแกรมอื่น ๆ ที่ถูกบรรจุไว้ในระบบนั่นเอง โดยซอฟต์แวร์เหล่านี้ถูกจัดเก็บและบรรทุกอยู่ในหน่วยความจำของเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์เปิดเข้าสู่ระบบของซอฟต์แวร์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานได้โดยทันที

ประเภทของซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน

ความสำคัญของซอฟต์แวร์ต่อธุรกิจ

ซอฟต์แวร์มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบัน หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน ซึ่งซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

เป็นซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการกับอุปกรณ์ต่าง ๆ และช่วยจัดการระบบคอมพิวเตอร์ให้เสถียร ซึ่งคอยจัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล และการสื่อสารข้อมูล โดยซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน คือระบบปฏิบัติการ (Operating System) เช่น MS – DOS (เอ็มเอส – ดอส) , ยูนิกซ์ (UNIX) , โอเอสทู (OS/2) , วินโดวส์ (Windows) หรือลินุกซ์ (Linux) ที่เป็นส่วนสำคัญต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบของคอมพิวเตอร์ แต่ทำขึ้นเพื่อสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งจะทำงานโดยผ่านการเรียกใช้งานจากซอฟต์แวร์ระบบอีกที่หนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น

ซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจ ตัวช่วยสำคัญที่ให้งานง่ายขึ้นกว่าเดิม

ความสำคัญของซอฟต์แวร์ต่อธุรกิจ

1. ซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร ERP Software

ซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากร หรือ ERP Software ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ทั้งการขายสินค้า ทรัพยากรบุคคล ห่วงโซ่อุปทาน การจัดการโครงการ และเงินเดือนจากภายในระบบรวมเป็นศูนย์เดียวกัน จุดประสงค์หลักของ ERP Software คือ

  • จัดการข้อมูลองค์กรจากแหล่งต่าง ๆ ไปที่ส่วนกลาง
  • ทำงานโดยอัตโนมัติ และทำให้กระบวนการทางธุรกิจง่ายขึ้น
  • ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเพิ่มผลกำไร

2. ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ CRM

ซอฟต์แวร์ CRM ทำหน้าที่เป็นแอพพลิเคชันจัดการกับผู้ติดต่อ นับว่าเป็นแพลตฟอร์มสำหรับจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ อีเมล ข้อมูลผู้ใช้โซเชียลมีเดีย รวมไปถึงที่อยู่ ประวัติการซื้อ เป็นต้น โดยจุดประสงค์หลักของ CRM ก็คือ

  • จัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
  • พัฒนาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าด้วยข้อมูลที่เรามี
  • มอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้าปัจจุบัน
  • ตัดสินใจโดยอิงข้อมูลสำหรับกลุ่มเป้าหมายใหม่

3. ซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลข่าวกรองธุรกิจ

ซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลข่าวกรองธุรกิจ ช่วยรวบรวมข้อมูลที่เก็บไว้ในหลายแหล่งจากระบบคลาวด์ ศูนย์ข้อมูลในองค์กร และสเปรดชีต (Spreadsheet) มาเพื่อวิเคราะห์และรายงานให้กับพนักงานภายในองค์กร ให้ได้รับมุมมองของข้อมูลที่สอดคล้องกันผ่านแดชบอร์ด (Dashboard) ซึ่งซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลข่าวกรองธุรกิจยังเน้นรูปแบบ และแนวโน้มเพื่อให้ทีมสามารถกระทำหลาย ๆ สิ่ง ได้อย่างง่ายดาย โดยจุดประสงค์หลักของซอฟต์แวร์นี้ คือ

  • รับข้อมูลเชิงลึกของกระบวนการทางธุรกิจที่มีมูลค่า
  • ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมั่นใจ
  • หลีกเลี่ยงการใช้เวลานานในการวิเคราะห์ด้วยตนเอง

4. ซอฟต์แวร์สำหรับเครือข่ายโลจิสติกส์

เครือข่ายโลจิสติกส์ เป็นเครือข่ายของผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ โลจิสติกส์ และร้านค้าปลีกที่ทำงานร่วมกัน เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่มีความซับซ้อนสูง ทุกองค์กรต้องการโครงสร้างดิจิทัลพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการประสานงานและจัดการงานห่วงโซ่อุปทาน ไปจนถึงสร้างระบบคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ

  • การติดตามการจัดส่งสินค้า
  • การปรับปรุงรูปแบบการผลิต
  • การจัดการใบแจ้งหนี้ของซัพพลายเออร์
  • การตรวจสอบซัพพลายเออร์

5. ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการทรัพยากรบุคคล

เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกสร้างมาเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือ HR โดยทั่วไปประกอบด้วยเครื่องมือในการดูแล และควบคุมการทำงานของทรัพยากรบุคคล ไม่ว่าจะเป็น

  • การสรรหาและการฝึกอบรมพนักงาน
  • การจัดการวันหยุดประจำปี
  • บัญชีเงินเดือนพนักงาน
  • การรักษาคนเก่งและสร้างความผูกพันระหว่างองค์กรกับพนักงาน

อ้างอิงจากเว็บไซต์ : hocco

บทความแนะนำ

สรุป

นอกจากนี้ยังมี ซอฟต์แวร์ที่ให้บริการความสะดวกด้านอื่น ๆ ยังมีอีกมากมาย แต่ทั้ง 5 ซอฟต์แวร์นี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อภาคธุรกิจในอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะกับธุรกิจในสมัยใหม่ที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ควบคู่กับแรงงานมนุษย์ เพราะฉะนั้น เลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะต่อการทำธุรกิจ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพต่อการทำงานได้อย่างราบรื่น เพิ่มศักยภาพของงาน และพนักงานได้มากยิ่งขึ้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

โทร : 02-922-0291

E-mail : support@uniquebig.com

line : @ubcbiz

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

uniquebig.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน