ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ส่วนสำคัญมีอะไรบ้าง? คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) และโน้ตบุ๊ก เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic device) เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการทำงาน เล่มเกม หรือหาความรู้รอบตัว ซึ่งเราเชื่อว่า ทุกคนล้วนรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ เรามาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ส่วนสำคัญกันว่ามีอะไรบ้าง? เวลาต้องการอัปเดต หรือมีชิ้นส่วนใดชำรุดจะได้นำไปเป็นความรู้และใช้ประโยชน์ต่อไป
สารบัญ
- จอภาพ (Monitor)
- เคส (Case)
- พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
- คีย์บอร์ด (Keyboard)
- เมาส์ (Mouse)
- เมนบอร์ด (Main board)
- ซีพียู (CPU)
- การ์ดแสดงผล (Display Card)
- แรม (RAM)
- ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
- CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW
- ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
- สรุป
ต้องขอบอกเลยว่าชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหลายประเภทอย่างมาก โดยในครั้งนี้เราได้รวบรวมชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และโน้ตบุ๊ก มาให้ทุกคนได้ทราบว่า แต่ละชิ้นส่วนนั้นเรียกว่าอะไร และมีหน้าที่สำคัญอะไรในการทำงานบ้าง!?
1. จอภาพ (Monitor)

จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบนจอภาพ โดยชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ PC แบ่งได้เป็น 3 ชนิด
จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)
จอแสดงผลแบบ CRT เป็นจอแสดงผลที่รับสัญญาณภาพแบบอนาล็อก (Analog) โดยมีการพัฒนาจอแสดงผล CRT มาจากจอโทรทัศน์ในสมัยนั้น โดยผู้ที่ริเริ่มในการสร้างจอแสดงผลแบบนี้คือ บริษัทไอบีเอ็ม ซึ่งในยุคต้น ๆ จอแสดงผลจะยังไม่สามารถแสดงกราฟฟิกต่าง ๆ ได้เหมือนกับในปัจจุบัน
โดยหลักการทำงานของจอแสดงผลแบบ CRT จะทำงานโดยอาศัยหลอดภาพที่สร้างภาพเหมือนกับในโทรทัศน์ โดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ซึ่งมีสารประกอบของฟอสฟอรัสฉาบอยู่ที่ผิว เมื่อถูกแสงอิเล็กตรอนมากระทบ สารเหล่านี้จะเกิดการเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นภาพและสีตามสัญญาณ Analog ที่ได้รับมานั่นเอง ในปัจจุบันจอแสดงผลแบบ CRT นั้นเริ่มไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะว่ามีจอแสดงผลแบบใหม่มาทดแทนที่มีคุณสมบัติด้านการแสดงผลที่ดีกว่า
จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display)
เป็นจอแสดงผลรุ่นที่สองต่อจากจอแสดงผลแบบ CRT โดยหลักการทำงานของจอแสดงผลแบบ LCD นั้นจะใช้วัสดุประเภทผลึกเหลว (Liquid Crystal) มาใส่ไว้ในผิวของกระจก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำทำให้เกิดสีขึ้น การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก อาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวดมาทำการเปลี่ยน และบังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่าง ๆ ออกมาตามที่ต้องการ ซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งกินไฟน้อยกว่า ทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ก และเดสโน้ต สามารถพกพาไปได้สะดวก
จอแสดงผลแบบ LED ( Light-emitting-diod)
หรือชื่อจริงของเทคโนโลยีนี้คือ OLED (Organic Light Emitting Devices) มีหลักการทำงานไม่ยาก ไม่มีความซับซ้อนมากนัก ด้วยการนำหลอด LED มาเรียงรายกันเป็นแถว โดยภาพต่าง ๆ จะเกิดขึ้นจากการติดดับของหลอด LED ทำให้เกิดภาพและสีที่ได้ชัดเจนกว่าจอแสดงผลแบบอื่น ๆ โดยจอแสดงผลแบบ LED เป็นเทคโนโลยีที่มาทดแทนและปิดจุดบกพร่องของจอแสดงผลแบบ LCD ซึ่งจอแบบ LED นั้นจะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของมุมมอง และอัตราการตอบสนองของภาพที่ไวกว่าแบบจอ LCD นอกจากนั้นจอแบบ LED ยังประหยัดไฟฟ้าได้ดีกว่าแบบ LCD ด้วย
2. เคส (Case)

เคส คือ กล่องที่เก็บอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ข้างในไม่ได้หมายถึง คอมทั้งเครื่อง ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ภายใน และในปัจจุบันมีหลายแบบ หลายขนาดที่นิยมกัน ขึ้นอยู่ที่ผู้ซื้อจะเลือกตามความเหมาะสมของงาน และสถานที่นั้น ๆ
3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

แหล่งจ่ายไฟหรือที่มักจะเรียกทับศัพท์ว่า เพาว์เวอร์ซัพพลาย เป็นส่วนประกอบสำคัญทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้า โดยทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะ เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ซีดีรอมไดรฟ์ (CD-ROM Drive) ดีวีดีไดรฟ์ (DVD-ROM Drive) ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถจ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
4. คีย์บอร์ด (Keyboard)

อุปกรณ์ที่ใช้นำข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะเป็นแป้นพิมพ์สี่เหลี่ยม มีจำนวน 84 – 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็นกลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลาย ๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
5. เมาส์ (Mouse)

คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่าง ๆ ที่ใช้งานถนัดมือ ช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า “ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)” ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
6. เมนบอร์ด (Main board)

ชิ้นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ และโน้ตบุ๊ก เป็นแผงวงจรกลางเพื่อควบคุมการทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมคล้ายกระดาน แผ่นวงจรไฟฟ้า แผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในทั้งหมด รวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่น ๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียว และเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้หากขาดเมนบอร์ดไป
7. ซีพียู (CPU)

ชิ้นส่วนสำคัญในการประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU)
ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และยังมีความสามารถคำนวณในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไขนั้นเป็น “จริง” หรือ “เท็จ”
หน่วยควบคุม (Control Unit)
ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon
หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. รอม (ROM : Read Only Memory)
ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญในการสตาร์ทอัพเครื่อง เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยงข้อมูลก็จะยังคงอยู่ สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้อีก สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม
2. แรม (RAM : Random Access Memory)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผล เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลอาจสูญหายได้
8. การ์ดแสดงผล (Display Card)

การ์ดแสดงผลสำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยการ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้น ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลเริ่มต้นขึ้นเมื่อโปรแกรมต่าง ๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียู พร้อมทั้งประมวลผล เมื่อเสร็จแล้วจะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ จะมีวงจรในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
9. แรม (RAM)

RAM
ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน ถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
SDRAM
ย่อมาจาก Synchronous Dynamic RAM เทคโนโลยี RAM นี้ได้รับการออกแบบให้ซิงโครไนซ์เวลากับจังหวะเวลาของ CPU ที่จะทำงานกับรอบสัญญาณนาฬิกาที่แน่นอน ทำให้ข้อมูลที่ร้องขอพร้อมโดยไม่ต้องรอ CPU RAM นี้ทำงานที่ 66 MT/s ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับเวอร์ชัน
DDR-RAM
หรือ Double Data Rate RAM ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ โดยปัจจุบันนี้ DDR RAM หลายรุ่นเช่น DDR SDRAM, DDR2 SDRAM, DDR3 SDRAM, DDR4 SDRAM, DDR5 SDRAM
RDRAM
ย่อมาจาก RAMBUS DRAM เป็นแรมที่ได้รับการพัฒนารูปแบบการทำงานขึ้นมาใหม่ ใช้เทคนิคการรับส่งข้อมูลด้วยความถี่สูง สัญญาณขาขึ้นและขาลงมากำหนดให้แรมทำงาน มีความกว้างสำหรับรับส่งข้อมูล 8 หรือ 16 บิต มีอัตราการรับส่งข้อมูล 800 MB ต่อวินาทีในแต่ละช่องของแรม เป็นต้น
10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสก์มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอกเป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
IDE (Integrated Drive Electronics)
เป็นระบบของฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด
SCSI (Small Computer System Interface)
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่ โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง
Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสคอยเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อวินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานที่เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน
11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW

เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk ซึ่งการทำงานของ CD-ROM เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อ่าน ข้อมูล จากแผ่นซีดีรอม และทำการแปลงสัญญาณข้อมูล แล้วส่งไปยังหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ และใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)

เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซี โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมาก เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อย ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี แต่ก็ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น
บทความแนะนำ
- ลดพิเศษ ไมค์ขยาย Logitech ระดับพรีเมียร์ ประกันนาน 2 ปี
- เมาส์ไร้สาย หลากสีสัน ราคาถูก ซื้อออนไลน์ที่ Uniquebig
- เทปพิมพ์อักษร BROTHER สีดำ ขาว เหลือง ทอง แดง
สรุป
เป็นอย่างไรบ้างกับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ส่วนสำคัญแต่ละประเภท ซึ่งล้วนมีความสำคัญและมีหน้าที่การทำงานเฉพาะตัว หากคุณต้องการอัปเดตคอมพิวเตอร์ หรือต้องการเลือกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ไปประกอบเพื่อเสริมประสิทธิภาพ หรือการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดียิ่งขึ้น สามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ของเราได้ เนื่องจากเราเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายจากหลากหลายแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก มีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกประเภท รับประกันสินค้าคุณภาพที่ได้มาตรฐานตามเงื่อนไขของแบรนด์ พร้อมมีบริการหลังการขายที่จริงใจ เพื่อให้ทุกคนได้รับสินค้าที่ดี และคุ้มค่ามากที่สุด
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร : 02-922-0291
E-mail : support@uniquebig.com
line : @ubcbiz